วันอังคารที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ระบบการส่งสัญญาณโทรทัศน์

ระบบการส่งโทรทัศน์


1.  การส่งรายการทางสถานีโทรทัศน์เพื่อการค้า (Broadcasting  by Commercial  Stations)   การส่งรายการทางสถานีโทรทัศน์เพื่อการค้า หรือโทรทัศน์ประเภทสาธารณะรับได้โดยตรง (Free TV)   สำหรับประเทศไทยขณะนี้ไม่มีการส่งรายการโทรทัศน์การสอนทางสถานีโทรทัศน์เพื่อการค้าที่แพร่สัญญาณในวงกว้าง  จะมีเพียงรายการโทรทัศน์การศึกษา เช่น รายการสนุกกับไอที รายการท่องไปในโลกกว้าง  ฯลฯ 
        2.  การส่งรายการทางสถานีโทรทัศน์ที่มิใช่เพื่อการค้า  (Broadcasting by Non-Commercial  Stations)    เป็นสถานีโทรทัศน์ที่เสนอรายการเพื่อสาธารณประโยชน์โดยไม่มีโฆษณา  สถานีเหล่านี้เป็นสถานีที่เสนอรายการสารคดี วิเคราะห์ข่าว ละคร เพลง เพื่อความรู้และความบันเทิงแก่ผู้ชมทางบ้าน  รวมถึงรายการเพื่อการเรียนการสอนในโรงเรียนด้วย 
        3.  การส่งโทรทัศน์วงจรปิด (Closed  Circuit  Television : CCTV)  โทรทัศน์วงจรปิด  หมายถึง  ระบบการส่งโทรทัศน์ที่ผู้ส่งและผู้รับสามารถเชื่อมโยงติดต่อกันด้วยสายแทน              การออกอากาศตามธรรมดาของสถานีโทรทัศน์   การส่งโทรทัศน์ในระบบนี้สามารถส่งได้  3  รูปแบบ คือ
                3.1  การใช้กล้องโทรทัศน์กล้องเดียวถ่ายทอดการสอน  หรือเหตุการณ์ในห้องนั้นให้กับผู้เรียนที่อยู่ในห้องเดียวกันนั้นได้รับชมโดยมีเครื่องรับโทรทัศน์ 1 เครื่อง เช่น การทดลองทางวิทยาศาสตร์ หรือการแสดงการซ่อมเครื่องยนต์ ซึ่งอาจมีการถ่ายภาพในระยะใกล้ให้                          กลุ่มผู้เรียนได้เห็นรายละเอียดของการสาธิตนั้น
                3.2  การใช้กล้องโทรทัศน์กล้องเดียวถ่ายทอดการสอนหรือเหตุการณ์ในที่นั้นส่งไปยังเครื่องรับโทรทัศน์หลายเครื่องที่ติดตั้งอยู่ในห้องเดียวกันหรือห้องอื่น ๆ ในอาคารเดียวกัน การถ่ายทอดนี้ใช้เมื่อเวลามีการสอนแก่ผู้เรียนจำนวนมาก ๆ 
                3.3  การใช้กล้องโทรทัศน์หลายกล้องและเครื่องวีดิทัศน์ เพื่อแพร่ภาพแก่ผู้เรียนที่อยู่ในตึกต่าง ๆ ที่อยู่ภายในบริเวณโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาเดียวกัน วิธีการแบบนี้เครื่องรับโทรทัศน์วงจรปิดจะรับได้หลายช่องเพื่อเสนอวิชาต่าง ๆ หรือวิชาเดียวกันแต่ต่างระดับชั้น
          การส่งรายการทางสายเคเบิลหรือเคเบิลทีวี  (Cable  Television) 
         การส่งรายการทางสายเคเบิลหรือเคเบิลทีวี หรือโทรทัศน์ประเภทบอกรับสมาชิก (Pay TV) เป็นระบบการแพร่สัญญาณทางสายเคเบิลเพื่อการเรียนการสอนหรือเพื่อความบันเทิงที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน จะมีรูปแบบที่สถานีต้นทางเคเบิลติดตั้งเสาอากาศใหญ่เพื่อรับสัญญาณจากสถานีโทรทัศน์หรือจากสถานีส่งที่ส่งโดยสัญญาณผ่านดาวเทียมในอวกาศหรือสัญญาณไมโครเวฟทางภาคพื้นดิน เมื่อสถานีต้นทางเคเบิลรับสัญญาณมาแล้วจะทำการขยายสัญญาณเพื่อส่งไปตามสายเคเบิลใหญ่ซึ่งทำด้วยลวดทองแดงหรืออาจเป็นเส้นใยนำแสงก็ได้  โดยมีสายเคเบิลเล็กเชื่อมต่อส่งสัญญาณต่อไปตามสถานที่ต่าง ๆ เช่น โรงเรียน  มหาวิทยาลัย  บ้านเรือน  และสถาบันทางธุรกิจ  ตามปกติแล้วสายเคเบิลเล็กจะถูกฝังไว้ใต้ดินและฝังคู่กับสายโทรศัพท์ด้วย
         การส่งรายการด้วยคลื่นไมโครเวฟ 
         การแพร่สัญญาณด้วยคลื่นไมโครเวฟ (Microwave Transmission) เป็นการแพร่สัญญาณระบบเดียวที่ใช้เฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกาเรียกว่า Instructional Television Fixed   Service  (ITFS)   โดยใช้คลื่นไมโครเวฟความถี่ 2500 – 2690  เมกะเฮิรตซ์ ไม่จำเป็นต้องต่อสายไปยังห้องเรียนต่าง ๆ เหมือนกับระบบการส่งโทรทัศน์ทางสายเคเบิล
การส่งโทรทัศน์ระบบนี้มีข้อจำกัดที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ คลื่นความถี่ของสัญญาณไมโครเวฟเดินทางไปในแนวเส้นตรงโดยไม่สามารถไปตามความโค้งของโลกได้  และไม่สามารถทะลุผ่านสิ่งกีดขวาง  เช่น  ตึกหรือภูเขาได้เช่นกัน
         ดังนั้น  ในการส่งโทรทัศน์การสอนด้วยสัญญาณไมโครเวฟนี้จึงครอบคลุมไปได้เพียงพื้นที่ที่อยู่ในระยะสัญญาณของสถานีส่งเท่านั้น  โดยต้องมีเสารับสัญญาณเป็นทอด ๆ ในระยะห่างระหว่าง 5 – 30 ไมล์
        การส่งรายการด้วยการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม 
        การแพร่สัญญาณโทรทัศน์ด้วยการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม (Satellite Transmission)  โดยทั่วไปแล้วการส่งรายการโทรทัศน์ด้วยสัญญาณผ่านดาวเทียมจะเป็นการแพร่สัญญาณในวงกว้างเพื่อให้ผู้รับทั่วทุกหนแห่งในโลกสามารถรับชมรายการได้พร้อมกันในเวลาเดียวกัน
นอกจากการแพร่สัญญาณโทรทัศน์ในวงกว้างแล้ว ยังมีการแพร่สัญญาณในวงแคบ  เฉพาะจุดผู้ส่งและผู้รับ ตัวอย่างเช่น ได้มีการนำการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมมาใช้ในวงการศึกษา เพื่อถ่ายทอดความรู้ระหว่างผู้เรียนที่อยู่ต่างทวีปกัน  ปัจจุบันยังมีการนำระบบรับตรงจากดาวเทียมที่เรียกว่า “ระบบดีทีเอช”  (Direct  to  Home : DTH)  มาใช้เพื่อให้ผู้เรียนที่อยู่ตามบ้านสามารถรับสัญญาณจากดาวเทียมเข้าเครื่องรับโทรทัศน์ของตนได้โดยตรงโดยไม่ต้องผ่านสถานีรับ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น